เมื่อเราคิดยากเมื่อไหร่ ชีวิตจะทุกข์มากขึ้น ๆ
อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดตามที่เราฝัน ชีวิตก็เท่านี้เอง"
โจน จันได มนุษย์บ้านดินคนแรกของเมืองไทย
ผู้มีแนวความคิดในการดำรงชีวิตที่ดูแปลกแยก
เขายึดหลัก"ความง่าย"
ไม่ได้เห็นความสุขเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะความสุขมักจะคู่กับความทุกข์ ...โจน จันไดมองเช่นนั้น
โจน จันได วัย 45 ปี ชาวยโสธร
ใน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ที่ศูนย์เรียนรู้ เพื่อการพึ่งตนเอง
และ ศูนย์เก็บเมล็ดพันธุ์ พันพรรณ
จากประสบการณ์การใช้ชีวิต 7 ปี อยู่กรุงเทพฯ
2 ปี ในสหรัฐ อเมริกา ยึดอาชีพล้างจานและยามเป็นหลัก
วันหนึ่งค้นพบตัวเองว่า เกษตรกรไทย
ทำงานเพื่อใช้หนี้ มากกว่าเลี้ยงตัวเอง
“ชาวนาไทย ขณะนี้ทำนาปีละมากกว่า 2 ครั้ง
ต่างจากเดิม ที่บรรพบุรุษทำปีละ 2 ครั้ง “ชาวนาไทย ขณะนี้ทำนาปีละมากกว่า 2 ครั้ง
นี่บ่งบอกว่า เกษตรกรกำลังทำงาน อย่างหนัก
แต่ค่าแรง ที่ได้ก็ไม่พอใช้จ่ายต้องเสียเงินค่ายา ค่าปุ๋ย ต่าง ๆ นานามากมาย
จนเกิด คำถามว่า วันนี้เราทำงานเหนื่อยหนักเพื่อใคร..?”
โจน จันได เล่าเรื่องราวชีวิตที่เหมือนว่าได้ค้นพบวิถีใหม่ให้กับชีวิต
ที่ งานกรีนแฟร์ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ เมื่อ 2 ปีก่อน
“ทำงานบ้านดินมา 10 ปี รู้สึกว่าเหนื่อย
จึงอยากพัก บ้านดินทำเมื่อไหร่ก็ได้
แต่สิ่งที่อยากทำจริงๆ ในตอนนี้
คือการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านแท้ๆ
การเก็บเมล็ดพันธุ์มีความสำคัญกว่าการทำบ้านดิน
เพราะความรู้ในการทำบ้านดิน
เรียนรู้ได้ง่าย ทำเมื่อไหร่ก็ได้
แต่เมล็ดพันธุ์นับวันจะหายไปจากโลกทุกวัน
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต้องรีบทำ
ไม่อย่างนั้นจะหายไปจากโลก
ต้องเร่งรีบเก็บรักษาไว้”
โจน กล่าวถึงแนวคิดว่า ตอนนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูกผักต่าง ๆ
เป็นพันธุ์ผสม ที่ออกแบบมา เพื่อสนองต่อปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง
ต่างจากเดิมที่เป็นพันธุ์แท้จะทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
สิ่งเหล่านี้เป็นผลพวง ให้เกษตรกรปัจจุบัน ต้องทำงานหนักขึ้น
เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าต้นทุนการผลิตที่นับวันจะแพงขึ้น
ขณะเดียวกันเมล็ดพันธุ์ ที่ซื้อมา ก็ไม่สามารถนำมาปลูกต่อได้
เนื่องจาก บางสายพันธุ์ถูกออกแบบไม่ให้สามารถงอกขึ้นได้อีก
เกษตรกร จึงจำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ อยู่เสมอ
ขณะเดียวกันพันธุ์ในท้องตลาดจะมีเพียงชนิดเดียว ที่ชาวบ้านเชื่อว่าดีที่สุด
และปลูกเพียงชนิดเดียวส่งผลให้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
พืชผลเหล่านั้นล้มตายทำให้ขาดทุนเป็นหนี้
ด้วยความคิดนี้ โจนหาซื้อที่ดินที่อำเภอแม่แตง และลงมือปลูกพืชผัก
มีแขกแวะเวียนไปเยี่ยมบ้าง บางคนทำงานในเมืองมานาน เบื่อหน่ายเมือง
เบื่อหน่ายตัวเอง และอยากไปทดลองใช้ชีวิต ก็มาขออาศัยอยู่ที่ไร่
ที่ไร่ไม่มีทีวี ไม่มีหนังสือพิมพ์
ทั้งคนไทย ทั้งฝรั่ง ต่างผลัดเปลี่ยน
ตามกันมาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบสมถะกับโจน จันได
“เราเน้นการพึ่งตนเองด้วยปัจจัยสี่ อาหาร บ้าน ผ้า และยา
เรามีความเชื่อว่าชีวิตที่พัฒนาที่ดีที่สุด
ชีวิตที่มีความสุขที่สุดคนต้องเข้าถึงปัจจัยสี่ได้ง่ายที่สุด
แต่การพัฒนาทุกวันนี้รู้สึกว่ามีแต่เลวลง แย่ลง
“ทุกวันนี้คนกว่าจะได้บ้านหลังหนึ่ง ต้องทำงานเก็บเงินเป็นยี่สิบสามสิบปี แสดงว่าแย่มาก
อาหารก็แพงขึ้น และไม่มีความปลอดภัยเลย เราไม่รู้ว่าเขาเอาอะไรมาให้เรากิน
การพัฒนาที่เป็นอยู่ ชีวิตที่คนทุกวันนี้เป็นอยู่เป็นสิ่งที่หาสาระไม่ได้เลย
เราทำไปด้วยความงมงาย ด้วยความไม่รู้เรื่องรู้ราว ทำชีวิตให้ยากขึ้นๆ ๆ ๆ
จนลืมไปว่าชีวิตเกิดมาทำไม ครอบครัวเป็นยังไง มีความสำคัญยังไง
ธรรมะคืออะไร ความสุขเป็นยังไง ไม่มีใครสอนเลย
คนมีแต่ซื้อๆๆๆ เพื่อให้มีความสุข แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย?
“คนบอกว่าอยากมีเสรีภาพ ต้องมีโทรศัพท์มือถือ ต้องมีอะไรมากมาย
และจะมีเสรีภาพอย่างที่เขาโฆษณา แต่ความจริงมันคือเสรีภาพจริงๆ มั้ย?
“สุดท้าย เราก็เลยกลับมานึกถึงชีวิตว่า
ชีวิตที่มีความสุข คือชีวิตที่ง่าย บริโภคน้อยลง พึ่งตนเองได้
เราก็เลยกลับมาที่ปัจจัยสี่ อาหาร บ้าน ผ้า และยา”
มนุษย์ต้องหาเงินเป็นแสนเป็นล้านเพื่อให้มีบ้านสักหลัง
ขณะที่ นก หนู สามารถทำรังได้ในวันเดียว
“เมื่อมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าฉลาดที่สุดในโลก แต่ทำไมเราทำในสิ่งที่โง่ที่สุด”
โจนบอกว่ามันผิด ถ้ายากแสดงว่ามันผิด
“อย่างการมีอาหาร คนทำงานในเมืองวันละ 8-12 ชั่วโมง
แต่ไม่พอกินสำหรับคนเดียว ทำเพื่ออะไรกัน
แต่ผมทำสวนวันละ 30 นาที ผมมีอาหารเลี้ยงคน 7-8 คนได้สบาย ง่ายมากเลย นี่คือความง่าย”
“บางคนซื้อเสื้อผ้าตัวละเป็นพันสองพัน ทำงานกี่เดือนถึงจะได้เสื้อ
ทำไมต้องทำให้มันยาก เราหลอกตัวเอง เราทำให้ชีวิตมันยากขึ้นๆ
อย่าลืมว่าคนเรามีชีวิตไม่ยาวนักบนโลกนี้ อีกไม่นานก็ตายแล้ว
แต่ทำไมเราเอาเวลาที่มีค่าสูงสุดมาทำสิ่งไร้สาระไม่เป็นประโยชน์กับตัวเรา
“ใส่เสื้อผ้าสวยๆ รู้สึกยังไง ใส่เสื้อผ้าสวยแค่ไหน คนไม่สวยก็ไม่สวยเหมือนเดิม
ไม่มีดั้งก็ไม่มีเหมือนเดิม เราหลอกตัวเอง หลอกคนอื่นทำไม"
“อยากให้เห็นว่าชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าง่ายไม่ได้ มีความสุขไม่ได้
ความง่ายก็คือสิ่งที่เราได้มาโดยไม่ยากและก็ไม่เป็นทุกข์”