หมู่บ้านหัตกรรมบ้านเขว้า
ประวัติผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า
ผ้าไหมของบ้านเขว้า เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อประมาณ พ.ศ.2523 นายถนอม แสงชมภู นายอำเภอขณะนั้น ได้นำผ้าไหมส่งศูนย์ศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ด้วยคุณภาพของผ้าไหม ลวดลายที่แปลกตา และผีมือที่ปราณีต จึงได้รับความสนใจ มีผู้สั่งทอเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ.2530 ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในขณะนั้น (ร.ต. สุนัย ณ อุบล รน. :ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านผ้าไหม และผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไหม) ได้ให้การส่งเสริมการผลิตและได้ส่งผ้าไหมบ้านเขว้าเข้าประกวดที่โครงการศิลปาชีพ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น ผ้าไหมบ้านเขว้าได้รับการคัดเลือกส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลชนะเลิศเกือบทุกปี
หมู่บ้านหัตกรรมบ้านโนนเสลา
ประวัติ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหนองตูม เป็นแหล่งทอผ้าขิตแหล่งใหญ่ที่สุดของชัยภูมิ ชาวบ้านโนนเสลาสืบทอดการทอผ้าขิตมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย โดยทอผ้าใช้เองแทบทุกครัวเรือน มีการตั้งกลุ่มแม่บ้านขึ้นเมื่อปี 2521 และได้พัฒนาลวดลาย สีสัน ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีจำหน่ายทั้งผ้าฝ้ายมัดหมี่ ผ้าขิตไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋าผ้า และหมอนขิต
หมูบ้านหัตกรรมบ้านนาเสียว
ประวัติและการบริหารจัดการ
จัดตั้งกลุ่มเมื่อ ปีพ.ศ. 2533 บ้านนาเสียวมีอาชีพเสริมจากการทำนา คือ การทอผ้าไหมมาตั้งแต่ในครั้งอดีต ชาวบ้านจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง ต่อมาทางราชการจึงได้เข้ามาช่วยในด้านการตลาดและการบริหารจัดการ มีคณะกรรมการบริหารงานต่อกันหลายรุ่น
หมู่บ้านหัตกรรมบ้านแท่น
ประวัติความเป็นมา
บ้าน สามสวนใต้ เดิมแยกออกมาจาก หมู่ที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2516 อยู่ทางทิศใต้ของบ้านสามสวนกลาง จึงได้ชื่อว่า บ้านสามสวนใต้ อยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสามสวน ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านแท่น 10 กิโลเมตร
ด้านหัตถกรรม
จากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ได้แก่ การทำผ้าไหมมัดหมี่ การทอเสื่อกก หรือที่คนอีสานเรียกว่า ทอสาด เป็นวัฒนธรรมที่เป็นวัฒนธรรมที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิม ของครอบครัวคนอีสานที่สืบทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน จากการทอแบบดั้งเดิมประยุกต์ และพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยมาตลอดเวลา มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม สีสันลวดลายสวยงาม โดยประยุกต์จากลายมัดหมี่มามัดกกให้เป็นลวดลาย อีกทั้งลายยกดอกขิด ซึ่งประยุกต์จาก ขิดผ้า ลายต่างๆของเสื่อ เป็นลายนาค และลายหมากเบ็ง ล้วนสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรม การนำไปเป็นของฝากจึงมีคุณค่าสำหรับผู้รับ และยังสามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันในครัวเรือนที่ขาดไม่ได้
ด้านหัตถกรรม
จากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ได้แก่ การทำผ้าไหมมัดหมี่ การทอเสื่อกก หรือที่คนอีสานเรียกว่า ทอสาด เป็นวัฒนธรรมที่เป็นวัฒนธรรมที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตและภูมิปัญญาดั้งเดิม ของครอบครัวคนอีสานที่สืบทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน จากการทอแบบดั้งเดิมประยุกต์ และพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยมาตลอดเวลา มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม สีสันลวดลายสวยงาม โดยประยุกต์จากลายมัดหมี่มามัดกกให้เป็นลวดลาย อีกทั้งลายยกดอกขิด ซึ่งประยุกต์จาก ขิดผ้า ลายต่างๆของเสื่อ เป็นลายนาค และลายหมากเบ็ง ล้วนสะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรม การนำไปเป็นของฝากจึงมีคุณค่าสำหรับผู้รับ และยังสามารถใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันในครัวเรือนที่ขาดไม่ได้
จริงๆ แล้วมีเยอะกว่านี้คะ แต่ผู้เขียนหามาได้ยังไม่หมด ติดตามตอนต่อไปนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แชร์ความคิดเห็นกันนะคะ ^ ^
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น