DEVILFREEDOM

น้องใหม่...หัดทำBlogจร้า

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา

วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาตร์มากที่สุดและเป็นวัด

ที่นักท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุดวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงเป็นธรรมดาที่จะ
พบเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมายังวัดแห่งนี้ จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือ
เรื่องราวทางประวัติศาตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์
ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามา
กราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วย
นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ประวัติ
วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น
คือในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิปดีที่ 1 หรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ.1900
สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดศพเจ้าแก้ว ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรค
ขึ้นมาเผา ที่ปลงศพนั้นโปรดให้สถาปนาเป็นพระอาราม นามว่า วัดป่าแก้ว

ต่อมาคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแก้วบวชเรียนมา จากสำนักรัตนมหาเถระ ในประเทศศรีลังกา
คณะสงฆ์นี้ได้เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่ชาวกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทำให้ผู้คนต่างมาบวชเรียน
ในสำนักสงฆ์คณะป่าแก้วมากขึ้น สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จึงทรงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็น
สมเด็จพระวันรัตน มีตำแหน่งเป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งมี
ตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายคันถธุระ

เรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์ของวัดป่าแก้วมีอยู่ว่า อุโบสถของวัดเคยเป็นที่ซึ่งคณะคิดกำจัด

ขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์มาประชุมเสี่ยงเทียนอธิษฐาน ครั้งนั้นได้รับผลสำเร็จ
จึงอัญเชิญพระเฑียรราชาลาผนวช ขึ้นครองราชสมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

พ.ศ. ๒๑๐๔ ในรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้นเอง ได้มีพระบรมราชโองการให้เอา
สังฆราชวัดป่าแก้วไปสำเร็จโทษ ฐานฝักใฝ่ให้ฤกษ์ยามแก่ฝ่ายกบฎพระศรีศิลป์

พ.ศ. ๒๑๓๕ ในแผ่นดินของพระนเรศวรมหาราช มีเหตุการณ์สำคัญที่ชวนให้เข้าใจว่ามีการ
สร้างปฎิสังขรณ์เจดีย์ประธานวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ที่ได้ชัยชนะพระมหาอุปราช
แห่งพม่า จึงทำให้เชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อวัดใหญ่ชัยมงคล

จุดที่น่าสนใจ
เจดีย์ชัยมงคล
อนุสรณ์แห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ ่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงรบชนะ มังกะยอชวา
พระมหาอุปราชของหงษาวดี ที่ต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรี
ในครั้งนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาในขอบขันฑสีมา สมเด็จพระนเรศวรฯ และสมเด็จพระ
เอกาทศรถผู้เป็นพระอนุชาจึงได้นำทัพไปรับศึก และได้ขับช้างเข้าไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึก
ทีคอยระดมยิงปืนเข้าใส่พระและพระคชาธาร โดยที่เหล่าแม่ทัพนายกองวิ่งตามพะรองค์มาไม่ทัน
พระองค์จึงประกาศด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า
เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์
ที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว พระอุปราชของพม่าจึงไสยช้างออกมากระยุทธถีด้วยกัน
ในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงพลผ่ายฟาดฟันพระอุปราช
ขาดตะพายแล่ง

เมื่อกลับมาสู่พระนครแล้ว พระองค์ก็จะลงโทษเหล่าทหารที่ตามพระไปไม่ทันตอนกระทำศึก
ยุทธหัตถี ซึ่งมากฏระะเบียบแล้วต้องโทษถึงขึ้นประหารชีวิต ช่วงเวลาที่รออาญา
สมเด็จพระพันรัตน พระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ 25 รูปได้ขอให้พระนเรศวรพระราชทานอภัย
ยกเว้นโทษให้กับทหารเหล่านั้น โดยให้เหตุผลว่าพระองค์เปรียบดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่แวดล้อมด้วยหมู่มารก่อนที่จะตรัสรู้ เป็นการประกาศเกียรติและบารมีความกล้าหาญ
และเก่งกาจของพระองค์ให้ขจรกระจายไปทั่วแคว้นทั่วแผ่นดิน

สมเด็จพระนเรศวรจึงโปรดให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ
และความมีน้ำพระทัยของพระองค์ ที่มีต่อเหล่าทหารเหล่านั้น และพระะราชทานนามว่า
“เจดีย์ชัยมงคล”
 

 พระอุโบสถ
เดิมสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติกรรมฐานรวมทั้งประกอบพิธีกรรมต่างๆ
พระอุโบสถหลังนี้เคยถูกใช้เป็นสถานนัดพบของเหล่าขุนนาง นำโดยขุนพิเรนทร์เทพ
และพรรคพวก ซึ่งมาเสี่ยงเทียนเพื่อจะเป็นนิมิตหมายในการไปปราบขุนวรวงค์ษา
และท้าวศรีสุดาจันทร์ วิธีการเสี่ยงเทียนคือการฟั่นเทียนขึ้นมา 2 เล่ม เล่มหนึ่ง
แทนตัวขุนวรวงค์ษา กษัตริย์ที่นักวิชาการหลายท่านไม่นับรวมว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์อยุธยา
เทียนอีกเล่มหนึ่งแทนตัวพระเฑียรราชา หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์อันหลบหลีกปัญหาการแย่ง
ชิงบัลลังค์ และไปบวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน และจุดเทียนขึ้นพร้อมกัน
แต่เทียนเล่มที่เป็นตัวแทนของขุนวรวงค์ษามีเหตุให้ดับลงก่อน
จึงถือว่าการล้มล้างจะเป็นผลสำเร็จ

ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ ส่วนที่เป็นองค์ประธานเป็นพระพุทธรูป
ซึ่งมีลักษณะเด่นจากที่อื่น คือปั้นด้วยหินทรายตลอดทั้งองค์ ส่วนที่เป็นจีวรถูกลงรัก
ปิดทองประดับแก้ว ส่วนที่ไม่ใช่จีวรนั้นว่างเว้นเห็นเป็นเนื้อหินทรายที่สวยงาม
สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ลักษณะเป็นปางมารวิชัย หรือปางสดุ้งมาร

วิหารพระพุทธไสยาสน์
เมื่อเดินผ่านประตูทางเข้าด้านในก็จะพบวิหารพระพุทธไสยาสน์อยู่ทางซ้ายมือ
ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งสร้างขึ้นในแผ่นดินของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เพื่อใช้เป็นที่สักการะบูชา และปฏิบัติพระกรรมฐาน พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่
ในปี พ.ศ.2508

รูปแบบอาคารเป็นลักษณะวิหาร สันนิษฐานว่ามีประตูทางเข้าอยู่ 2 ช่องทางด้านทิศเหนือ
(ปัจจุบันได้สูญสิ้นหมดแล้ว) ภายในอาคารมีหน้าต่างสี่เหลี่ยมเพียง 4 บาน เสาของอาคาร
เป็นลักษณะกลมปรากฏร่องรอยบัวหัวเสาที่ประดับอยู่บนยอด องค์พระประธานของวิหารหันหน้า
ไปทางทิศตะวันออกอันเป็นด้านหน้าของวัด ภายหลังได้รับการปฏิสังขรณ์

นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปจากมุมนี้ออกไปสู่วิวด้านหลัง ที่เห็นเป็นองค์เจดีย์ชัยมงคล
ซึ่งตั้งตะหง่านอยู่อย่างยิ่งใหญ่ เดินต่อไปตามทางเดินก็จะพบศาลเจ้าพ่อสิทธิชัยซึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือ