DEVILFREEDOM

น้องใหม่...หัดทำBlogจร้า

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วัดธรรมิกราช

วัดธรรมิกราช อยู่บริเวณใกล้เคียงกับพระราชวังโบราณ นักท่องเที่ยวสามารถสังเกตุ

จะมีป้ายตามข้างถนนจะบอกทาง ปัจจุบันวัดธรรมิกราชยังเป็นวัดที่พระสงฆ์ประจำอยู่
และทางทิศเหนือของวัดธรรมิกราชปัจจุบัน มีวิหารพระนอนที่มีผู้นิยมศรัทธา
มานมัสการอยู่สม่ำเสมอ

ประวัติ
วัดธรรมิกราช ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวง
ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระยาธรรมิกราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง
จึงสันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดมุขราช
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช

หลักฐานของโบราณสถาณของวัดแสดงว่าได้รับการบูรณะมาแล้ว
อย่างน้อยหนึ่งครั้งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย
หลักฐานด้านเอกสารระบุว่าวัดนี้ถูกไฟไหม้เสียหาย

จุดน่าสนใจ
เจดีย์ทรงกลมที่มีปูนปั้นรูปสิงห์ล้อม
ความโดดเด่นเมื่อแรกเห็นวัดนี้ คือ เจดีย์ทรงกลมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีปูนปั้น
รูปสิงห์ล้อมรอบไว้อย่างงามสง่าและหาชมได้ยากในเมืองไทย ในอยุธยามีประติมากรรม
สิงห์ปูนปั้นอีกแห่งหนึ่งที่วัดแม่นางปลื้มตั้งอยู่ริมคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรีเดิม) ตรงข้ามกับ
ตลาดหัวรอ ในตำบลหัวรอ เพราะโดยทั่วไปอย่างสุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร ก็มี
แต่วัดช้างล้อมในกรุงศรีอยุธยาก็มีเจดีย์ช้างล้อม ที่วัดมเหยงค์ และวัดแม่นางปลื้ม
(ที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นศิลปะล้านนาที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า ก็มีหลายวัดที่มีรูปสิงห์เฝ้าเจดีย์
ทว่าส่วนใหญ่ปั้นไว้ 4 ตัว สำหรับ 4 ทิศ) แต่วัดธรรมิกราชมีสิงห์ล้อมรอบนับได้ 20 ตัว
ซึ่งแม้จะหักพังไปตามกาลเวลาอันเนิ่นนานมาถึง 900 ปี แต่ก็ยังหลงเหลือที่สมบูรณ์อีกหลาย

 นักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาได้รับอิทธพลทางศิลปะการปั้นตัวสิงห์มาจากจีน

และขอม ซึ่งกำลังเกรียงไกรอยู่ในเวลานั้น (ราว พ.ศ. 1600) ตามคติความเชื่อของจีนและ
ขอมนั้น สิงห์หรือสิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจ และในตำนานของศาสนาพราหมณ์
หรือฮินดู (ซึ่งขอมนับถืออยู่ในขณะนั้น) เล่าว่าพระนารายณ์หรือวิษณุหนึ่งในเทพชั้นสูงของฮินดู
เคยอวตารเป็นสิงห์ ขณะเดียวกันตามลัทธิเทวราชาซึ่งไทยรับมาจากขอม ก็เชื่อว่า
พระมหากษัตริย์คือเทพวิษณุลงมาจุติบนโลกมนุษย์ จึงปรากฏว่าไทยเราใช้ตราครุฑ
เป็นสัญลักษณ์ของ”ข้าราชการ” (ผู้รับใช้พระราชา) มาจวบจนถึงปัจจุบัน ก็เพราะครุฑ
เป็นสัตว์พาหนะของพระวิษณุ

วิหารหลวง

วัดธรรมิกราชมีวิหารขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นวิหารหลวง โดยโครงสร้างของวิหารไม่ได้มีโครงเหล็ก
เป็นรากฐาน แต่มีความมั่นคงแข็งแรงมาก เพราะใช้ปูนเปลือกหอยและประสานด้วยน้ำตาลอ้อย
เคยเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ แต่ถูกพม่าเผาทำลาย
เหลือเพียงพระเศียร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
พระพุทธรูปสำริดองค์นี้ยังถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะอู่ทอง หรือศิลปะยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา
คือพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม แลดูเคร่งเครียด พระพักตร์ถมึงทึง จนชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า
“หล่วงพ่อแก่”

การเดินทาง

วัดธรรมิกราชตั่งอยู่บริเวณหน้าพระราชวังโบราณ ริม ถนนอู่ทอง นักท่องเที่ยว
สามารถใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางวัดพระมงคลบพิตรหรือวัดพระศรีสรรเพชญ์