วัดพระราม ตั่งอยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหาร
พระมงคลบพิตร ปัจจุบันคือ “สวนสาธารณะบึงพระราม” ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อน
ของนักท่องเที่ยวและชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติ
วัดพระรามนั้น คาดว่าถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร
ซึ่งเป็นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา
แต่พระองค์ทรงครองราชได้เพียงแค่ปีเดียว จึงเข้าใจกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑
ทรงได้ช่วยเหลือให้สร้าง จนสำเร็จก็ได้ หรืออาจจะสร้างเสร็จเมื่อสมเด็จพระราเมศวร
เสวยราชย์ครั้งที่ ๒ ก็เป็นไปได้
-ปรางค์ประธานโผล่พ้นแนวยอดไม้ โดยมีบึงเป็นฉากหน้า-
จุดน่าสนใจ
พระปรางค์ พระปรางค์องค์ใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สูงแหลมขึ้นไปด้านบน
ทางด้านทิศตะวันออก มีพระปรางค์องค์ขนาดกลางองค์
ส่วนทางตะวันตกทำเป็นซุ้มประตู มีบันไดสูงจากฐานขึ้นไปทั้งสองข้าง
ที่มุมปรางค์ประกอบด้วยรูปสัตว์หิมพาน มีปรางค์ขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และ ใต้
รอบๆปรางคืเล็กมีเจดีย์ล้อมรอบอีก ๔ ด้าน
นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เล็กบ้าง ใหญ่บ้างอยู่รอบๆ องค์พระปรางค์ประมาณ ๒๘ องค์
วัดพระรามนี้เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ กำแพงวัดพระรามด้านเหนือ มีแนวเหลื่อมกันอยู่
กำแพงด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ มีซุ้มประตูค่อนไปทางทิศตะวันตก
ได้ระดับกับมุมระเบียงด้านตะวันตกเฉียงหนือของปรางค์ส่วนแนวเหลื่อมนั้นได้ระดับ
กับมุมระเบียงตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ ไม่มีซุ้มประตู คล้ายเจตนาสร้างไว้เพื่อ
ประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง
วิหาร 7 หลัง
1 วิหารใหญ่อยู่ทางด้านหน้าวัด ทางทิศตะวันออกของพระปรางค์ วิหารองค์นี้
พังเหลือซากให้เห็นลักษณะและขนาดอยู่โดยรอบและเสากลมใหญ่แต่งเหลี่ยมสูงเกือบ
ถึงบัว หัวเสา เป็นวิหารที่เชื่อมต่อกับพระปรางค์องค์ใหญ่ เดินถึงกันตรงระเบียง
2 วิหารน้อย อยู่ทางด้านทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารที่มีด้านหลัง
เชื่อมต่อกับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งปรักหักพังไปแล้ว คงเหลือแต่มูลดินทิ้งไว้ให้ศึกษา
3 วิหารอยู่ทางมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิหารขนาดกลาง มีเจดีย์ใหญ่
ฐานสี่เหลี่ยมอยู่หลังวิหาร วิหารนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
4 วิหารน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหลือแต่ด้านข้างสองด้านมุมวิหารน้อย
ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีเจดีย์เล็กองค์หนึ่ง
5 วิหารเล็ก อยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถ มีประตูอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและ
ตะวันตกข้างละ 1 ประตู
6 วิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในมีเสาเหลี่ยมปรักหักพังด้านหลังวิหาร
มีเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์หนึ่ง ปรักหักพังเช่นกัน
7 วิหาร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ มีวิหารขนาดย่อมกว่าวิหารด้านตะวัน
ออกเล็กน้อยเชื่อมระเบียงองค์ปรางค์ที่ระเบียง มีบันไดหน้าวิหารตรงกับซุ้มประตู ปัจจุบัน
เหลือแต่ฐาน
การเดินทาง
วัดพระรามตั่งอยู่ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางเดียว
กับเส้นทางวัดพระมงคลบพิตร
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น.
ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30น.- 21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน