DEVILFREEDOM

น้องใหม่...หัดทำBlogจร้า

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วัดพุทไธศวรรย์

วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอ
พระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันเป็นวัดดังมากๆ สำหรับประชาชนที่นิยมไปกราบ
ขอพรจากองค์จตุคามรามเทพ จึงทำให้บริเวณวัดพุทไธศวรรย์ช่วงวันหยุดก็จะ
เนืองแน่นไปด้านผู้คนจำนวนมาก

  ประวัติ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง
ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณ
ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า “ตำบลเวียงเล็กหรือเวียงเหล็ก”
ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้น
เป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม
และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง

-อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และสมเด็จพระเอกทศรถ-

อนึ่ง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกพม่าทำลาย
เหมือนวัดอื่นๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชม

จุดน่าสนใจ
ปรางค์ประธาน องค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที
ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก
ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลังภายในพระมณฑปมีพระประธาน


-ปรางค์ประธาน-


-พระพุทธรูปรายเรียงรอบปรางค์ประธาน-

พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่
ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรม
แต่ภายในผนังของตำหนัก มีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาท
และเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่ชัดเจนนัก

วิหารพระนอน

-วิหารพระนอน-

ตำหนักจตุคามรามเทพ

-เทวรูปจตุคามรามเทพ-

ประวัติท้าวจตุคามรามเทพ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทวรูปจตุคามรามเทพจตุคามรามเทพ คือ เทพรักษาพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช
สถิตอยู่บนที่บานประตูทางขึ้นพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ. 2530 เมื่อมีการตั้งดวงเมือง
นครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ จึงมีการอัญเชิญจตุคามรามเทพไปสถิต ณ ที่นั้นเป็นต้นมา
เชื่อว่ากันเดิม องค์จตุคามรามเทพ เป็นกษัตริย์ในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช
มีพระนามอย่างเป็นทางการว่า พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 2 ของ
ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช เชื่อว่ามีพระวรกายเป็นสีเข้ม เป็นกษัตริย์นักรบที่แกร่งกล้า
เมื่อสถาปนาอาณาจักรศรีวิชัยได้อย่างมั่นคงแล้ว จึงได้สมัญญานามว่า

” ราชันดำแห่งทะเลใต้ ” หรือมีอีกราชสมัญญานามนึงว่า ” พญาพังพกาฬ “

และต่อมาทรงบำเพ็ญบุญเพื่อสร้างบารมีอธิษฐานจิตเป็นพระโพธิสัตว์
เพื่อบรรเทาทุกข์แก่มนุษย์ทั้งปวง

สัญลักษณ์ 12 นักษัตร ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชจตุคามรามเทพ
มีบริวารเป็นทหารกล้า 4 นาย คือ พญาชิงชัย, พญาหลวงเมือง, พญาสุขุม
และพญาโหรา เป็นกำลังหลักในการปราบพราหมณ์ที่เคยปกครองเมืองอยู่ก่อน
เมื่อได้บ้านเมืองแล้ว ก็ได้สร้างพระบรมธาตุ สถาปนาเมือง 12 นักษัตร
หรือกรุงศรีธรรมาโศกราช ฝังรากฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวร จนได้รับ
เทิดพระเกียรติว่า พญาศรีธรรมาโศกราช หรือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

ปัจจุบัน จตุคามรามเทพ ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวาง โดยเชื่อว่าทรง
ฤทธานุภาพในทุก ๆ ด้าน ตามจารึกของชาวศรีวิชัยได้บอกว่า ” มีอานุภาพดุจ
ดังพระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่ขจัดความมืดมัวในโลก ” การขออธิฐานจาก
พระองค์นั้นทำได้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ

อธิฐานขอในสิ่งที่เป็นไปได้ โดยไม่ขัดต่อศีลธรรม
เมื่อได้รับสิ่งที่หวังแล้ว ต้องรักษาสัจจะที่ได้ให้ไว้กับพระองค์
ควรจะสร้างกุศลกรรมถวายแด่องค์จตุคามรามเทพ
แต่ที่สำคัญ อย่าลำพังเพียงอธิษฐาน ต้องสร้างกุศลกรรมให้แก่ตนเองให้ครบ
ทุกด้านด้วย คือ ให้ทาน รักษาศีล และบำเพ็ญภาวนา

ภาพลักษณ์ของจตุคามรามเทพ โดยมากจะปรากฏเป็นองค์เทพบุตรในท่านั่ง
มี 4 กร ถืออาวุธต่าง ๆ และนายทหาร 4 นาย นั้น จะปรากฏในรูปของหนุมาน 4 กร
ถืออาวุธในท่วงท่าต่าง ๆ ทั้งนี้ก็เป็นไปตามศิลปะศรีวิชัยที่มักสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมา
แทนความหมายต่าง ๆ

การเดินทาง
ทางรถยนต์ ใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร
แล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้าย
เข้าวัดพุทไธศวรรย์

ทางเรือ ท่านอาจเช่าเหมาเรือหางยาวจากบริเวณหลังลานจอดรถฝั่งตรงข้าม
พระราชวังจันทรเกษมด้านตะวันออกของเกาะเมือง ล่องไปตามลำน้ำป่าสัก
ลงไปทางใต้ผ่านวิทยาลัยการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหาร
วัดพุทไธศวรรย์ โบสถ์โปรตุเกส วัดไชยวัฒนาราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
และเจดีย์พระศรีสุริโยทัย

อีกหนึ่งเส้นทางหากท่านเยี่ยมชมโบราณสถานภายในเกาะเมือง แล้วท่านสามารถใช้เส้นทาง
ถนนรอบเกาะเมืองได้ โดยเดินทางมายังหน้าโรงพยาบาล พระนครศรีอยุธยา
แล้วข้ามเรือเล็กซึ่งมีท่าเรืออยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับโรงพยาบาล แล้วเดินเท้าต่ออีกเล็กน้อย